เมื่อพระอิศวร…ร่ายรำ
ถ้าใครเป็นแฟนวรรณคดี ในไทยเราจะคุ้นกับพระนาม “พระอิศวร”(อิ-สวน =ผู้เป็นใหญ่/ผู้อยู่เหนือความไม่รู้)
มากเพราะจะถูกพูดถึงในวรรณคดี ที่อิงจากอินเดียหลากหลายเรื่อง หลักๆก็แน่นอนล่ะ
รามเกียรติ์ ต้องยืนหนึ่ง พระองค์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่อยู่บนเขาพระสุเมรุ(เขาไกรลาศ)
เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตามคติความเชื่อจักรวาลแบบไตรภูมิ
อีกพระนามที่เป็นที่รู้จักฮิตฮอตก็คือ “พระศิวะ” นั่นเอง พระองค์เป็น 1 ใน3 เทพเจ้าที่เป็นใหญ่ที่สุดในศาสนาฮินดู (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ) ตามความเชื่อส่วนมากพระพรหมจะมีหน้าที่สร้างโลก พระวิษณุจะเป็นผู้คอยดูแลรักษา แต่โลกที่มีมนุษย์พออยู่ไปๆก็เริ่มมีความชั่วร้าย ซึ่งพระศิวะก็จะเป็นผู้มาทำลายความชั่วร้ายพวกนั้นเอง…
ศิวนาฏราช
เพราะงี้ในฐานะที่เป็นเทพที่คิดท่ารำได้ตั้ง 108 ท่า
ชาวฮินดูก็เลยนับถือพระศิวะในปางนี้ว่าเป็น “นาฏราชา”คือ เป็นราชาแห่งการร่ายรำ ในงานนาฏศิลป์หรือการแสดงใดๆ
จะมีการบูชานาฏราชา
ในบ้านเราที่คุ้นมากก็อย่าง “รางวัลนาฏราช”
ที่มอบให้ดารานักแสดงที่ฝีมือดีๆ ละครดีๆนั่นแหละ
ในการรำของอินเดียก็จะมีการเรียนท่าเต้น108 ท่านี้ รวมถึง “การรำไทย” ก็ได้รับอิทธิพล ดัดแปลงมาจากท่ารำตาณฑวะนี่ด้วยล่ะค่าคุณผู้ชม (แต่เหนือสิ่งอื่นใด…เราได้รับอิทธิพลพวกนี้มาจากขอมอีกทีแหละ)
อันนี้เป็นคลิปการเต้นตานฑวะของนักเต้นอินเดีย
https://www.youtube.com/watch?v=PYyzVC3iCF8
ซึ่งเพลงที่ใช้ก็คือบทสวด ศิวะตาณฑวะ ที่ตามตำนานว่ากันว่า ราวณะ(หรือทศกัณฐ์ ที่เรารู้จัก) เป็นคนแต่ง เพราะราวณะนี่ถือว่าเป็นสาวกผู้ภัคดีของพระศิวะมาก(เคยเล่าไปในลิงค์นี้ https://panchaliwriter.blogspot.com/2019/12/blog-post_90.html )
ร่ายรำ…ทำลายความมืดบอด
อย่างที่เคยเล่าว่า ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากๆ
มีตำนานเรื่องเล่าที่เป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” หลากหลายเวอร์ชั่นมากๆ แล้วแต่ใครอยากจะเชื่อแบบไหน มีเวอร์ชั่นนึงที่ฮิตๆกันจาก
“คัมภีร์โกยิลปุราราณัม”เล่าว่า
ครั้งนึงพวกฤๅษีในป่าตารกะ ทำตัวไม่ดี พระศิวะเลยจะไปตักเตือนซะหน่อย ก็เลยแปลงตัวเป็นฤๅษีหนุ่ม ไปกับพระวิษณุแปลงเป็นสาวสวย พอพวกฤๅษีป่าตารกะเห็นก็ชอบพระวิษณุในร่างแปลง ก็เลยทะเลาะกันจะแย่งพระวิษณุกันจ้า!
ทะเลาะกันได้ที่แล้ว พระศิวะกับพระวิษณุก็เลยกลับร่างเดิม พวกฤๅษีก็โกรธสิโดนหลอกซะอย่างงั้น เลยเสก “เสือ” เสก “งู” มาจะทำร้าย พระศิวะก็ปราบได้เอาหนังเสือมานุ่ง เอางูมาทำสังวาล! แล้วก็ “ร่ายรำ” แสดงปาฏิหาริย์ซะเลย!!!
ทีนี้ก็มี “อสูร อปัสมารา” (เป็นตัวแทนของความไม่รู้ ความมืดบอด) เข้ามาจะทำร้าย พระศิวะก็เลยเหยียบไว้แล้วก็ร่ายรำ ต่อจนครบ 108 ท่า จนพวกฤๅษีพวกนั้นยอมแพ้ไปเลย!!
ร่ายรำครั้งต่อๆมา
หลังจากพระศิวะได้ร่ายรำทำลายอสูร เป็นเวอร์ชั่นฮิตๆหลักๆแล้ว ก็ได้ร่ายรำในหลายวาระโอกาส…แล้วแต่ตำนานเลย
มีครั้งนึงที่ พญานาคอนันตนาคราช(เศษะนาค) ที่ขดตัวเป็นบัลลังก์ให้พระวิษณุอยากจะขอดูการร่ายรำของพระศิวะ ก็เลยทูลอ้อนวอน พระศิวะก็เลยบอกว่าจะไปรำให้ดูในดินแดนกลางจักรวาล ซึ่งในอินเดียว่ากันว่าคือตำบล “จิดัมพรัม”
ใน “คัมภีร์ศิวะประโทษสโตตระ” ก็เล่าว่า ก็มีครั้งที่พระศิวะไปร่ายรำที่เขาไกรลาส ให้พระชายา ก็คือพระแม่อุมา(เป็นแม่ของทั้ง 3โลก) มานั่งบนบัลลังก์ทอง มีการชุมนุมเทวดา พระสรัสวตีดีดพิณ พระอินทร์เป่าขลุ่ย พระพรหมตีฉิ่ง พระลักษมีขับร้อง พระวิษณุตีกลอง นอกจากนี้ก็ยังมีพระแม่อุมาก็ยังมีการร่ายรำคู่ด้วยนะ! เป็นจังหวะที่อ่อนหวาน เรียกว่า “ลาสยะ” (ลา สะ ยะ)…แล้วก็ว่ากันว่า ก็มีฤๅษีผู้บันทึกท่ารำต่างๆให้กับชาวโลก ชื่อว่า “พระภรตมุนี” ซึ่งเป็นที่มาของความเชื่อเรื่อง “พ่อแก่” ในไทย ที่ชาวนาฏศิลป์ให้ความเคารพมากๆ
ส่วนในวรรณคดีไศวนิกาย พระศิวะจะมีการร่ายรำ 108 ท่านี้ในปางดุร้ายด้วย เรียกว่า ปาง“ไภรวะ” ซึ่งในไทยก็เป็นที่มาของ “พระพิราพ” (Bhirava)ซึ่งไทยเรานับถือเป็นครูทางด้านนาฏศิลป์ ที่จะมีการบูชาไหว้ครูกันนั่นเอง พระพิราพจะมีการร่ายรำในจังหวะที่รุนแรง พร้อมกับพระแม่อุมา(ในภาคดุเช่นกัน)และภูตผีในป่าช้า
ความหมายที่ซ่อนอยู่?
ชาวฮินดู ไศวนิกาย เชื่อว่าพระศิวะในปางร่ายรำ ถือเป็นการทรงสร้างโลก แล้วก็ทำลายไปพร้อมๆกัน อาจจะหมายถึง ทำลายสิ่งที่เลวร้าย มืดบอดต่างๆ แล้วสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นอีกครั้ง เชื่อกันว่าซึ่งถ้าทรงฟ้อนรำจังหวะพอดี โลกก็จะปรกติ แต่ถ้าจังหวะรุนแรง โลกจะเกิดภัยพิบัติได้เลย
ศิลปกรรมอินเดีย หรือศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลอินเดียก็มักจะเจอศิวนาฏราช 4 กร
แสดงถึงความหมายหลักๆ 5ความหมายคือ
1. การสร้างสรรค์(สัญลักษณ์ของกลองฑมรุ)
2. การป้องกัน-ปราศจากความกลัว-การเยียวยา(ท่า อภัยมุทรา)
3. การทำลายล้าง(ไฟจากมือ)
4. การสร้าง ให้เป็นรูปร่าง (เท้าเหยียบพื้น)
5. การปลดปล่อย ปล่อยวาง(เท้ายกจากพื้น)
รายละเอียดอื่นๆในเทวรูปที่เป็นสัญลักษณ์ตีความต่างๆ เราทำ label ไว้ในรูปให้เข้าใจง่ายๆไว้เรียบร้อยแล้ว ^^
ถ้าจะตีความหมายโดยรวมในความเห็นของเรานะ…เทวรูปนี้เป็นพระศิวะในปางที่ทำให้เราได้คิดถึง “ธรรมชาติของมนุษย์โลก” ได้ชัดเจนเลยนะ
ก็คือในโลกนี้ มนุษย์ก็จะมีความไม่รู้ ความมืดบอด รัก โลภ โกรธ หลงที่ในบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็เหมือนเป็น “อสูรกาย” ที่เราปลุกมันขึ้นมาเองโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการที่เราจะได้หลุดออกมาจากจุดนั้นได้ ก็คือต้องพยายามระงับมันไว้ กดมันให้จมดินเหมือนที่พระศิวะ เหยียบอสูรนั้นไว้…และนั่นก็อาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมพระศิวะไม่ฆ่ามันไปเลยล่ะ?...นั่นก็เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ในตัวเรา ไม่มีวันฆ่าตายไง! ทางที่เดียวที่ไม่ให้โดนมันครอบงำ ก็คือการรู้เท่าทัน
“รู้เท่าทัน และดำเนินชีวิตต่อไป(ร่ายรำ) สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้ดีขึ้น(สั่นกลอง ฑมรุ)”
ซึ่งการที่เรารู้ถึงการมีอยู่ของมันแล้ว นั่นก็อาจไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่พลาด ให้อสูรกายในตัวเราได้อีก ตราบใดที่เรายังมีมันในตัว มันก็ยังคงเป็นวัฏจักรที่กลับมา หายไป (วงแหวนไฟ)อยู่แบบนี้แหละ เป็นเรื่องปกติของสัตว์โลก(ย่อมเป็นไปตามกรรม)…ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่จะลิขิตให้ชีวิตไปในทิศทางไหน ก็อาจมีแค่เราแหละ
ส่วนตัวแล้วเราชอบอ่านพวกตำนาน ความเชื่อ
เพราะเป็นสิ่งที่ตีความได้หลากหลายแบบ มีความเป็นปรัชญาที่สะท้อนความคิด
และสังคมสมัยก่อนได้ดี
เราคิดว่าการเรียนรู้วัฒนธรรมความเชื่อที่ดี ต้องไม่ควรเป็นการเรียนรู้อย่าง
“ตัดสิน” ด้วยแค่พื้นฐานความคิดแบบที่เรามี แต่เป็นการ “เปิดใจ” และให้ความเคารพต่อเรื่องราวที่เราได้เรียนรู้ด้วยใจที่เป็นกลางอย่างแท้จริง
เราคิดว่าเรื่องราวบางอย่างอาจไม่จำเป็นต้องตัดสินว่าอะไรเป็นเรื่องจริง หรือแต่ง ควรเชื่อหรือไม่เชื่อ ตราบใดที่สิ่งนั้นยังคงมีสิ่งดีๆ และคุณค่าในตัวมันเอง เพราะบางครั้ง เรื่องโกหกก็อาจเป็นสิ่งที่นำเสนอความจริงได้จริงใจที่สุดก็ได้นะ
อ้างอิง
ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู อรุณศักดิ์ กิ่งมณี
http://omg-art-in-sea.blogspot.com/2017/10/blog-post_79.html
https://www.britannica.com/topic/Nataraja
https://qz.com/india/1759244/a-brief-history-of-nataraja-the-dancing-hindu-god-shiva/
https://www.ancient.eu/article/831/shiva-nataraja---lord-of-the-dance/
https://www.youtube.com/watch?v=EFzPjZddqcM
ขอบคุณภาพจาก
http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/picture2.php?check=type&keyword=2&Page=85
https://www.metmuseum.org/art/collection/search/39328
http://www.publicartinchicago.com/symbolism-of-shiva-nataraja/
https://th.wikipedia.org/wiki/พระพิราพ
https://sites.google.com/site/ajanthus/phra-phrt-v-si
https://www.ancient.eu/image/4045/shiva-nataraja/
https://www.sanook.com/news/2010658/
http://www.lersi.net/lersi-mask-initiation/73hfvg282180-02/
https://rishikeshtourism.org.in/lord-shiva-statue-rishikesh
SLOTXO เกมใหม่ปัจจุบันปี 2023 เเนะนำเกมประสิทธิภาพสูงอัพเดทใหม่ๆมีเกมส์ให้เลือกเล่นมากยิ่งกว่า 200 เกมส์ แต่ละเกมมีต้นแบบแล้วก็อัตราที่สูงเเตกแตกต่างกัน ค้ำประกันจากผู้เล่นจริง เเนวโน้มของเกม pg slot หมายถึงล้ำยุค เข้าเล่นง่ายได้เร็ว
ตอบลบ