พาเที่ยวพระราชวังกรุงธนฯ-วัดอรุณฯ-วัดนาคกลาง-โบสถ์พราหมณ์
ถือเป็นโอกาสอันดี
มีเวลาได้มาเที่ยวส่งท้ายปีเก่าวันนี้จะพาไปเที่ยว4ที่
สี่สไตล์จากฝั่งธนบุรี ข้ามมาแถวเสาชิงช้าเลยทีเดียว!!
และวันนี้ที่มาเที่ยวก็ถือเป็นวันพิเศษเพราะเป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
(วันที่ 28 ธันวาคม
2310)ซึ่งที่แรกที่จะพาไปก็คือพระราชวังของพระเจ้าตากสินที่สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี กองบัญชาการกองทัพเรือเปิดให้เข้าชมเป็นวันสุดท้ายพอดีเลย
โอ้ย! อย่างงี้ห้ามพลาดเลยนะ
ว่าแล้วก็ตามมาๆ
1. พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี
อย่างที่รู้ๆกันก็คือหลังจากเสียกรุงฯครั้งที่2 พระเจ้าตากสินก็ได้พาผู้คนอพยพมาตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี
และตั้งใจต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพ บริเวณวังหลวงของพระเจ้าตากสินปัจจุบันถูกเรียกว่า
“พระราชวังเดิม”
พื้นที่ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของกองบัญชาการกองทัพเรือ
หลังจากที่สมัย รัชกาลที่5
ได้มีการพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ให้ก้าวหน้าทันสมัยโดยโปรดเกล้าให้สถาปนาโรงเรียนนายเรือขึ้น
จะอยู่ติดกับวัดอรุณฯเดินตรงเข้ามาติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเลย
แต่โดยปกติเขาไม่ได้เปิดให้เข้าชมหรอกนะจ๊ะ ต้องรอเทศกาลหน่อย…และไม่ต้องเดาให้เมื่อยสมอง คนเยอะแน่นอน!!!
แบบว่ามากมายมหาศาลเลย
ณ
จุดนี้เลยจะบอกไว้ก่อนว่า
จะมีหลายที่ที่เราไม่ได้เข้าไปเก็บภาพมาให้เพราะเราเป็นมนุษย์ที่สู้ไม่ไหวจริงๆในพื้นที่ๆคนเบียดเสียด
เราคงขอซูมอยู่ข้างนอก และยกมือไหว้อยู่ไกลๆก็แล้วกัน^^
ข้างหน้าสุดก่อนจะเดินเข้าไปยังพื้นที่ของพระราชวัง
ก็จะมีโต๊ะตั้งขายของที่ระลึกจากบรรดานายเรือ มีทั้งที่เกี่ยวกับทหารเรือ
และเกี่ยวกับพระเจ้าตากสิน
เดินไปอีกหน่อยก็จะพบคนเยอะแยะ ควันธูปโขมงไปหมด(แสบตามากๆ
ระวังกันด้วยนะเวลาไหว้พระ ^^)
มีอนุสาวรีย์ของพระเจ้าตากสินฯให้สักการะบูชากันได้เต็มที่เลย
เลยจากจุดที่ไหว้พระเจ้าตากสินไปซักหน่อยจะเห็นป้อมสีขาวสะอาดตา
มีปืนใหญ่วางเรียงรายอยู่ ก็คือป้อมวิไชยประสิทธิ์
- ป้อมวิไชยประสิทธิ์
เป็นป้อมที่จะเห็นปืนใหญ่วางเรียงรายอยู่มากมาย
ถ้าปีนขึ้นไปก็คงจะเห็นเมืองทั้งเมืองได้ไม่ยากเลย
ย้อนกลับไปสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนู้นน่ะ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีเหตุให้ต้องกังวลนั่นนี่ว่าอยุธยาจะมีเหตุต้องมีปัญหากับฮอลันดารึเปล่า สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดเกล้าให้ชาวกรีกคนหนึ่งที่มารับราชการในไทยชื่อว่า “เจ้าพระยาวิไชเยนทร์” มาสร้างป้อมเอาไว้ที่เมืองบางกอก(สมัยนั้นบางกอกยังไม่ใช่ราชธานี เป็นแค่เมืองเมืองนึง) ก็เลยมีชื่อว่า “ป้อมวิชัยเยนทร์” หลังจากรัชสมัยของพระนารายณ์ก็ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ป้อมนี้แล้ว
ย้อนกลับไปสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนู้นน่ะ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีเหตุให้ต้องกังวลนั่นนี่ว่าอยุธยาจะมีเหตุต้องมีปัญหากับฮอลันดารึเปล่า สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดเกล้าให้ชาวกรีกคนหนึ่งที่มารับราชการในไทยชื่อว่า “เจ้าพระยาวิไชเยนทร์” มาสร้างป้อมเอาไว้ที่เมืองบางกอก(สมัยนั้นบางกอกยังไม่ใช่ราชธานี เป็นแค่เมืองเมืองนึง) ก็เลยมีชื่อว่า “ป้อมวิชัยเยนทร์” หลังจากรัชสมัยของพระนารายณ์ก็ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ป้อมนี้แล้ว
มาถึงสมัยที่เสียกรุงฯครั้งที่ 2 พระเจ้าตากสินอพยพผู้คนมาเพื่อกอบกู้อิสรภาพมาสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี(วังก็จะอยู่แถวๆป้อมนี่ล่ะ)
ก็เลยทรงเปลี่ยนชื่อป้อมนี้ใหม่จากป้อมวิชัยเยนทร์ เป็น “ป้อมวิไชยประสิทธ์”
ดูรอบๆแล้วก็ถึงเวลาเข้าไปข้างในกันซะที ไปกันนนน
ข้างหน้าจะมีพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย ดูคลาสสิคมากๆ
เข้ามาแล้วววว หันไปทางซ้ายนิดส์ ก็จะเห็นเรือนสีเขียวไข่กา เป็นเรือนไม้ขนมปังขิง เรียกว่า เรือนเขียว
- เรือนเขียว
เป็นอาคารโรงพยาบาลเดิมของโรงเรียนนายเรือ
ตอนนี้เป็นอาคารที่มีไว้ฉายวีดีทัศน์ และข้างๆก็มีห้องน้ำสะอาดๆให้เข้ากันด้วย
แล้วเราก็เดินมาทางฝั่งขวา จะเห็นอาคารทรงจีนๆอยู่
- อาคารเก๋งคู่ (หลังเล็ก-หลังใหญ่)
สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตอนนี้เป็นที่ใช้จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านการรบ เศรษฐกิจ ศาสนา มีพวกอาวุธ
ดาบ และข้อมูลไวนิลต่างๆ ซึ่งห้องนี้ห้ามถ่ายรูป(เพราะโบราณวัตถุอาจต้องมีวิธีการอนุรักษ์ที่ละเอียดอ่อนนิดนึง)นะจ๊ะ
อาคารเก๋งคู่หลังเล็ก
-ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
ถัดมาจากอาคารเก๋งทั้ง2หลัง ก็จะเป็นศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน คนมากมายมหาศาลมากๆๆเลย
ศาลหลังนี้เป็นศาลที่สร้างขึ้นแทนศาลหลังเก่าที่ทรุดโทรมไป
ข้างในก็มีรูปหล่อบูชาพระเจ้าตากสินขนาดใหญ่ตั้งให้สักการะบูชา เราไม่ได้เข้าไปแต่ขออนุญาตซูมดูอยู่ข้างนอก ^^
- ศาลศีรษะปลาวาฬ
ถัดมาทางด้านขวาของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
จะมีศาลที่ไว้กระดูกศีรษะของ “ปลาวาฬ”!!
ใช่แล้วปลาวาฬของจริงไม่ใช่นามแฝงใดๆ
ประวัติก็คือในอดีตนี่นะมีการขุดเจอโดยบังเอิญอยู่ใต้ถุนศาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน! ก็เลยจัดทำเป็นที่จัดแสดงให้เหมาะสม
ด้านหน้ามีโถอะไรสักอย่างที่ดูขลังดี
ส่วนอันนี้อยู่ด้านข้างๆของศาลกระดูกปลาวาฬ ไม่แน่ใจว่าใช้ทำอะไรแน่ชัด แต่เห็นมีเอาไปรองเป็นแท่นวางกระถางต้นไม้สวยๆก็เก๋มากๆ
- ท้องพระโรง
ส่วนนี้คนเยอะมากข้างใน
เราเลยขอไม่เข้าไปดูอยู่บริเวณรอบๆ มีระฆังโบราณ
และนิทรรศการที่ติดเป็นข้อมูลไวนิลให้ได้อ่านกันมากมาย
รวมทั้งมีให้สั่งจองรูปหล่อบูชาของพระเจ้าตากขนาดเล็กสำหรับผู้ที่ศรัทธา
หลังจากชมอาคาร ไหว้สมเด็จพระเจ้าตากฯก็เที่ยงพอดี
ต้องหาอะไรกินซะหน่อย เดินออกมาจากบริเวณของกองบัญชาการกองทัพเรือ เลียบไปทางขวาเห็นยอดปรางค์วัดอรุณฯอยู่ใกล้ๆ
ถนนสายเล็กนี้ๆจะพาเราไปสู่ร้านอาหารแสนอร่อย!!!
ผ่านร้านกล้วยทอด มีขายขนมไข่เต่า(ไข่นกกระทา) อร่อยมากๆๆๆขอบอก
ข้าวมันไก่แสนอร่อยๆๆๆ โชคดีมากๆที่ร้านยังขายไม่หมด เพราะออกมาตอนสายแล้ว ไก่เนื้อแน่นๆ ราคาไม่แพง ส่วนเครื่องดื่มไม่ต้องงงว่าทำไมสีแปลกๆ จริงๆสั่งอัญชัญมะนาวมา ถ่ายไม่ทันกินไปครึ่งแก้วแล้วเติมนำ้ชาต่อ555 สีเลยจะเก๋ๆหน่อย ^^
2. วัดอรุณราชวราราม
กินข้าวเสร็จเรียบร้อยก็เดินทางเที่ยวไหว้พระกันต่อ
มาถึงนี่แล้วก็ต้องเข้าวัดอรุณฯนะไม่งั้นเสียเที่ยวเปล่าๆ อันที่จริงนี่นะ
วัดอรุณฯเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วนะ
แต่ตอนนั้นบางกอกยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงไง ก็เป็นวัดปกติชื่อว่า “วัดมะกอก”
แต่พอพระเจ้าตากสินมาตั้งราชธานีที่ธนบุรีแล้วมีพระราชวังหลวงอยู่ติดกับวัดอรุณฯพอดี
วัดมะกอกก็เลยเปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดแจ้ง” เพราะตอนพระเจ้าตากสินกรีฑาทัพมาเจอตอนเช้า(อรุณ)พอดี
หลังจากนั้นวัดแจ้งก็เลยกลายเป็นวัดที่ตั้งอยุ่ในเขตพระราชฐานไปโดยปริยายซึ่งวัดแบบนี้ก็จะไม่มีพระจำพรรษา
และสมัยนั้นก็ได้มีการอัญเชิญ "พระแก้วมรกต" และ "พระบาง"(จากเวียงจันทร์) มาประดิษฐาน
เมื่อสิ้นรัชกาล มีการย้ายราชธานีจากธนบุรีไปอีกฟากของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น
“กรุงเทพมหานคร” รัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่วัดพระแก้ว
ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนไปเวียงจันทร์ แล้ววัดอรุณก็กลับมาเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาปกติอีกครั้ง
"ใบเสมา" บ่งบอกถึงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ
ช้างสำริด มีอยู่หลายตัวเลย อยากให้สังเกตที่งวงดีๆ แต่ละตัวจะทำงวงไม่เมือนกัน
รอบพระอุโบสถมีประเบียงคด ใต้ฐานพระจะมีการเก็บกระดูกของผู้เสียชีวิตไว้ด้วย
พระอุโบสถเป็นแบบไทยประเพณี สมัยรัชกาลที่2 มีการซ่อมแซมจากเป็นไม้ ในรัชกาลที่5 และปรับปรุงเรื่อยมา
มีตุ๊กตาจีนวางเรียงรายเป็นแถวแนว อยู่หน้าพระอุโบสถ
หน้าบันเป็นพระนารายณ์ทรงครุฑ
ด้านหน้าพระอุโบสถมีพระพุทธรูป พระพุทธนฤมิตร สร้างสมัยรัชกาลที่4
พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่รัชกาลที่ 2 ทรงปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง! นอกจากที่ที่ฐานพระก็ยังมีพระบรมอัฐิของรัชกาลที่2บรรจุอยู่ด้วย
มณฑปพระพุทธบาทจำลองสมัยรัชกาลที่ 3
ประดับประดาด้วยกระเบื้องสีต่างๆ สวยมากๆๆๆๆ
จุดเด่นที่ใครมาก็ต้องถ่ายรูปก็คือ “พระปรางค์” วัดอรุณฯ แรกเริ่มเดิมทีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จะเป็นพระปรางค์ องค์เล็กๆสูงแค่ 8 วา เท่านั้นเอง! เวอร์ชั่นที่เราเห็นกันทุกวันนี้เป็นการสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่2 กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ก็ล่วงเลยมาถึงรัชกาลที่ 3
ซึ่งพระปรางค์นี้เป็นพระปรางค์ที่มีการออกแบบให้วิจิตร เป็นลักษณะที่เรียกว่า "ทรงจอมแห" เพราะมีการโค้งมนเหมือนแหที่ทิ้งนำ้หนักเวลาถูกยกตัวขึ้น เก๋ไก๋กว่าที่คุ้นเคยแบบฉบับอยุธยา ทั้งขนาดพระปรางค์และการตกแต่ง ถือได้ว่าเป็นพระปรางค์ที่ยิ่งใหญ่ในยุครัตนโกสินทร์เลยทีเดียว
มีการประดับประดาด้วยกระเบื้องสีสวยต่างๆ มี"ซุ้มจระนำ" ที่เก๋กว่าเดิม ปกติมักใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ที่นี่จะเป็น "พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ" ถือเป็นการเชื่อมโยงเกี่ยวกับคติฮินดูเรื่องไตรภูมิ ที่พระปรางค์เป็นเหมือนเขาพระสุเมรุอยู่กลางมหานทีสีทันดร(ในอยุธยาก็ใช้คติเดียวกันในการสร้างพระปรางค์)
ยอดพระปรางค์เป็น "นภศูล" ปิดทอง แล้วก็มีพระมหามงกุฎ ที่รัชกาลที่3 ทรงดำริให้ยืมมงกุฏที่หล่อสำหรับพระประธานที่วัดนางนองมาเป็นยอด(ตอนนี้ที่วัดนางนองก็มีมงกุฏในแบบเดียวกันเช่นกันนน)
ที่องค์พระปรางค์จะมี "พลแบก" มีทั้ง มารแบก(ยักษ์) และกระบี่แบก(ลิง) เปรียบเหมือนการแบกสรวงสวรรค์เป็นเหมือนผู้ปกป้องคุ้มครอง
ตุ๊กตาน้องแพะ ^^
มีปรางค์ประธาน 1ปรางค์ และปรางทิศ 4 ปรางค์
ต้นโพธิ์ที่มีการผูกสายสิญจน์เตรียมการสวดมนต์ข้ามปีในวันปีใหม่
ตุ๊กตาหิน รูปสัตว์อะไรสักอย่าง ดูเก๋ดี
หน้าบันประดับด้วยกระเบี้ยง(ที่ทำจากด้วยกระเบื้องตัดเป็นชิ้นๆ) จัดเรียงเป็นรูปดอกไม้สวยงามมาก
"ยักษ์วัดแจ้ง" ในตำนานอันโด่งดัง ที่เห็นอยู่นี้เป็นรูปปั้นทวารบาลที่เป็นรูปยักษ์ที่เราคุ้นเคยกันดีในรามเกียรติ์ ทางซ้ายคือ "ทศกัณฐ์" ส่วนทางขวาคือ "สหัสเดชะ"(เหมือนจะเป็นหลานของทศกัณฑ์นะ)
ตามเรื่องเล่าคือยักษ์วัดแจ้ง มีเรื่องทะเลาะกับ "ยักษ์วัดโพธิ์" (วัดพระเชตุพนฯ) ซึ่งยักษ์วัดโพธิ์ที่ว่านี้นะถ้าใครจะไปตาม โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นตุ๊กตาหินจีนตัวใหญ่นะ อันนั้นจะเรียกว่า ลั่นถัน เป็นขุนนางจีนฝ่ายบู้ ยักษ์วัดโพธิ์ตัวจริงจะอยู่ที่ประตูมณฑปเก็บพระไตรปิฎก มีอยู่ 4 ตนคือ "แสงอาทิตย์"(หลานทศกัณฐ์) ขร (น้องทศกัณฐ์) สัทธาสูร(เพื่อนทศกัณฐ์) และไมยราพ เจ้าเมืองบาดาล
แล้วทำไมถึงทะเลาะกัน?...มันก็เป็นตำนานของ "ท่าเตียน" อีกแหละว่า จริงๆยักษ์ 2วัดนี้เป็นเพื่อนกันแหละแต่มีเหตุยืมเงิน เบี้ยวหนี้ เลยทะเลาะกันจนพื้นที่ตรงนั้นโล่งเตียนไปหมด แล้วก็เรียกว่า ท่าเตียน พระอิศวร(พระศิวะ)เห็นก็เลยลงโทษด้วยการสาปเป็นหินให้เป็นทวารบาล!
แท่นหินสลักเป็นลายเถาวัลย์ ดอกไม้สวยมกๆ
3. วัดนาคกลาง
ห่างจากวัดอรุณฯและพระราชวังเดิมมาไม่มาก(แค่ประมาณ 500 เมตร) มาที่วัดอินดี้ๆ
เงียบสงบกันบ้าง ว่ากันว่า “วัดนาคกลาง” แห่งนี้เป็นวัดโบราณตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนปลายแล้ว
มีการสันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วย
เป็นการรวมวัด 2วัดคือวัดนาค และวัดกลาง
ที่วัดนาคกลางนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือกันมากคือ
“หลวงพ่อโคนสมอมหาลาภ”
เป็นพระพุทธรูปปางถือผลสมอ! แล้วก็มีอิริยาบถแบบปางมารวิชัยคือ นั่งขัดสมาธิเพชร แล้วมือซ้ายวางหงาย
ว่ากันว่าท่านมีพุทธคนเด่นด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยนะ
เดี๋ยวนี้มีวอลเปเปอร์รูปเทพพนมลายวิจิตรให้ติดผนังก็สะดวกและสวยงามดีเหมือนกัน
บานประตูโบราณ มีภาพวาดสวยๆเป็นร่องรอยบ่งบอกอดีต ^^
เดินตรงไปข้างในเลยก็จะพบ “ศาลาสุธรรมภาวนา”
เป็นศาลาที่มีอนุสาวรีย์ของพระเจ้าตากสินในหลากหลายอิริยาบถ แล้วก็ปั้นได้สวยมากๆ
น้องกระรอกกำลังกินกล้วยที่พี่ๆใจบุญเอามาแขวนให้อย่างเอร็ดอร่อย
4.เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
ไว้พระหนำใจที่กรุงธนฯแล้วก็ข้ามมาอีกฝั่งหนึ่งเข้าสู่พระนครกันเลย
มุ่งหน้ามาที่เสาชิงชา สู่ “เทวสถาน” โบสถ์พราหมณ์!!!
เมื่อครั้งที่มีการตั้งกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่
รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวบรวมพราหมณ์ทั้งหลายมาอยู่ในราชสำนัก(เพราะพิธีกรรมส่วนใหญ่ของไทยตั้งแต่ก่อนสุโขทัยนู้น
ได้รับอิทธิพลจากพราหมณ์-ฮินดูเยอะมากๆ)
พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์พราหมณ์ ไว้ประกอบศาสนพิธี และพระราชพิธีนั่นนี่นู่น
แล้วก็การเซ็ตเมืองหลวงใหม่
อย่างบางกอกนี้ก็ต้องมีการสร้างเสาชิงช้า(ประกอบพิธีโล้ชิงช้า/พิธีตรียัมปวาย)
ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น
2556 ด้วยนะ
ด้านหน้าจะมีพราหมณ์และเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ
พร้อมจำหน่ายวัตถุมงคล(ที่สวยมากๆ) มีพวงมาลัยดาวเรืองที่เป็นเอกลักษณ์มากๆ คือพวงมาลัยดาวเรืองที่เราคุ้นเคยจะมีการร้อยแทรกด้วยดอกกุหลาบแดงและ
“ลูกมะนาว”เข้าไปด้วย! จากการถามเจ้าหน้าที่แล้ว
ก็ได้คำตอบว่า
มะนาวเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายสิ่งไม่ดีออกไปจึงนิยมนำมาร้อยใส่พวงมาลัยสไตล์อินเดียจ้า
มาจ้าตามมาๆ เข้ามาที่เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ข้างนอกสุดจากทางเข้าโบสถ์สามารถมองเห็นเข้ามาจากหน้าคือ
ซุ้มของพระพรหม
มีอาคารหลักๆ 3 อาคารคือ สถานพระอิศวร
พระพิฆเนศ พระนารายณ์
- สถานพระอิศวร(พระศิวะ)
สถานพระอิศวร(พระศิวะ) เป็นหลังอาคารหลังใหญ่
กว่าองค์อื่นๆเพราะที่นี่นับถือไศวนิกายคือจะนับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด
หน้าบันเป็นรูปพระศิวะ และพระแม่อุมา อยู่ในวิมาน และใต้วิมานมีโคที่ชื่อว่า นนทิเป็นภาหนะของพระศิวะ
ข้างในอาคารจะมีองค์ประธานเป็นพระศิวะสำริดศิลปะแบบสุโขทัย จากความรู้เท่าที่เรามี เทวรูปที่ขนาบข้างคือ เทวรูปศิวนาฏราช(เป็นปางร่ายรำของพระศิวะที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายสิ่งชั่วร้าย สร้างสรรค์สิ่งใหม่) ด้านซ้ายเป็นเทวรูปพระแม่ปารวตี(พระแม่อุมา)ผู้เป็นชายาศิลปะแบบอินเดียใต้
เยื้องมาทางซ้ายล่างเทวรูปที่ถือฟลุตคือพระกฤษณะ และพระแม่ราธาศิลปะแบบอินเดียเหนือ แล้วก็มีเทวรูปต่างๆอีกที่เรามองเห็นไม่ค่อยชัดคิดว่ามีแบบที่เป็นศิลปะขอมอยู่ด้วย สวยและขลังมากๆ บรรยากาศข้างในก็เงียบสงบเหมาะแก่การเข้ามาสักการะมากๆเลย
ด้านล่างเยื้องมาทางข้างหน้ามีพระพรหมอยู่ตรงกลาง
ขนาบข้างด้วย พระศิวะ และพระแม่อุมา ทรงโคนนทิ(เป็นภาหนะของพระศิวะ) เสาข้างหน้าสีขาวๆ เรียกว่า “เสาหงส์”
ไว้ใช้ทำพิธี “ช้าหงส์”(ในพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย)
ด้านซ้ายๆ จะมีซุ้มแผ่นไม้สลักเป็นรูป
พระแม่ธรณี(มีอีกชื่อว่าภูมิเทวี) พระแม่คงคา แล้วก็พระอาทิตย์ กับ
พระจันทร์(ที่เป็นวงกลมสีแดงและเหลือง)
ถัดจากสถานพระอิศวร เป็น พระศิวลึงค์(เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะเป็นรูปตัดทอนมาจากอวัยวะเพศชาย) บนฐานโยนี(ตัดทอนมาจากรูปอวัยวะเพศหญิง) หมายถึงต้นกำเนิดชีวิตความอุดมสมบูรณ์
ที่ต้องอาศัยความสมดุลของเพศหญิงและเพศชาย
- สถานพระพิฆเนศ
มีองค์ประธานเป็นพระพิฆเนศสำริดศิลปะสุโขทัย ขนาบข้างด้วยพระพิฆเนศหิน
- สถานพระนารายณ์ (พระวิษณุ)
องค์ประธานเป็นพระนารายณ์(พระวิษณุ)สำริดศิลปะสุโขทัย
ขนาบข้างด้วยพระแม่ลักษมี และพระภูมิเทวี(พระแม่ธรณี)เป็นไม้หุ้มด้วยยางรัก
(ในบางตำนานพระแม่ธรณีถือเป็นหนึ่งในชายาของพระนารายณ์ด้วย)ศิลปะแบบอินเดีย(น่าจะเป็นอินเดียใต้) ข้างซ้ายสุดนอกซุ้ม
น่าจะเป็นพระรามที่ถือคันศรอยู่เป็นหนึ่งในร่างอวตารของพระนารายณ์
เพดานสีแดง ปิดทองสวยงามมม
ที่พื้นทำหินอ่อน(จุดหนึ่ง)เป็นรูปดอกบัว
มีความเชื่อว่าถ้ากราบลงบนดอกบัวนี้ ก็จะเหมือนได้กราบลงแทบพระบาทขององค์เทพ(สังเกตได้จากในเทวรูปส่วนใหญ่จะมีดอกบัวอยู่แทบเท้าเสมอๆ)
อันที่จริงแล้วองค์ประธานพระพิฆเนศศิลปะสุโขทัยที่อยู่ที่โบสถ์พราหมณ์นี้ มาเป็นเซ็ตเดียวกับพระอิศวร(พระศิวะ)
และพระนารายณ์ที่ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เหตุผลที่อยู่แยกกันเพราะมีอยู่ช่วงนึงที่กรุงเทพน้ำท่วม
จึงต้องขนย้ายเทวรูปบางส่วนไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ฯ(บางส่วนก็หายไป) ใครจะตามไปดูให้ครบเซ็ตก็ตามไปที่พิพิธภัณฑ์โลดบอกเลยว่าสวยงามอลังการมากๆๆๆๆ
พระศิวะศิลปะสุโขทัย ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
พระนารายณ์ศิลปะสุโขทัย ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
อาคารข้างในมี "หอเวทวิทยาคม "
เป็นอาคารหลังใหญ่อยู่ด้านหลังพระศิวลึงค์
มีส่วนที่เป็นสำนักงานเทวสถาน และส่วนที่เป็นห้องสมุดเก็บหนังสือที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์- ฮินดู รวมไปถึงวรรณกรรมและวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง
ปกติจะสามารถเข้าใช้บริการได้แต่ตอนที่เราไปนี้เจ้าหน้าที่บอกว่ายังเข้าไม่ได้เพราะเพิ่งมีการทำระบบใหม่เลยยังปิดปรับปรุงอะไรประมาณนั้นนะจ๊ะ
ใครจะเข้าอาจต้องลองถามเจ้าหน้าที่ดูก่อน ^^
ไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้วก็อิ่มพอดี เดินย้อนเข้าไปในซอยแถวๆศาลเจ้าพ่อเสือ ไปกินหอยทอด และขนมปังเย็น(ร้านอยู่ติดกันเลย)ให้หนำใจเลย ร้านนี้บอกเลยว่าอร่อยเด็ด
อิ่มแล้วกลับบ้านได้สำหรับวันนี้ 4 วัดก็เพียงพออิ่มบุญอิ่มใจกันไป ไว้โพสหน้าจะพาไปเที่ยวไหนกันอีก ฝากอ่านกันด้วยน้าาาา ^^
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.youtube.com/watch?v=nb_lahgoiMs
https://mgronline.com/travel/detail/9600000006698
https://today.line.me/th/pc/article/10+เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ+‘วัดอรุณฯ’-LOM0Ma
https://www.winnews.tv/news/10179
https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/30511.html
https://www.voicetv.co.th/read/526132
***การเขียนอะไรสักอย่างนึง ต้องใช้แรงกายแรงใจเยอะมาก ฝากติดตามด้วยน้าาา เราจะได้มีกำลังใจเขียนต่อ...ร่วมพูดคุย และกดไลค์เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนได้ในเพจ
https://www.facebook.com/PanchaliWriter
https://today.line.me/th/pc/article/10+เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ+‘วัดอรุณฯ’-LOM0Ma
https://www.winnews.tv/news/10179
https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/30511.html
https://www.voicetv.co.th/read/526132
***การเขียนอะไรสักอย่างนึง ต้องใช้แรงกายแรงใจเยอะมาก ฝากติดตามด้วยน้าาา เราจะได้มีกำลังใจเขียนต่อ...ร่วมพูดคุย และกดไลค์เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนได้ในเพจ
https://www.facebook.com/PanchaliWriter
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น